สาเหตุ ‘เงินยูโรอ่อนค่า’ ร่วงหนักสุดในรอบ 20 ปี 1 ยูโร เท่ากับ 1 ดอลลาร์

สาเหตุ ‘เงินยูโรอ่อนค่า’ ร่วงหนักสุดในรอบ 20 ปี 1 ยูโร เท่ากับ 1 ดอลลาร์

สาเหตุทำไมวันนี้ เงินยูโรอ่อนค่า ร่วงหนักสุดในรอบ 20 ปี แตะที่ระดับ 1 ยูโร เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ และเท่ากับราคา 36.36 บาท วิเคราะห์สาเหตุวิกฤติการเงิน คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ  อาจต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง? เมื่อวันพุธที่ 13 กรกฎาคม 2565 เวลา 12 .45 น. ที่ผ่านมา มีรายงานว่า ค่าเงินยูโรได้ร่วงตกมาที่ระดับใกล้เคียงกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยมีราคาอยู่ที่ 1 ยูโร เท่ากับ 0.998 ดอลลาร์ ( 1 ดอลลาร์) เรียกว่าดิ่งลงต่ำสุดในรอบ 20 ปี นับตั้งแต่ปี 2002

ส่งผลให้เงินดอลลาร์ในปีนี้แข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว 

และธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องจากเดือนมิถุนายน เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มว่าจะพุ่งสูงยิ่งขึ้นในช่วงปลายปี 2022 นี้ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่สร้างความสั่นสะเทือนในโลกการเงินและเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างมหาศาล ซึ่งจะมีปัจจัยอะไรบ้างที่เปลี่ยนให้เงินยูโรที่เคยแข็งมาอย่างยาวนาน ให้ตกอันดับลงมาใกล้เคียงกับค่าเงินดอลลาร์ได้เท่ากับครั้งนี้?

วิเคราะห์ ‘สาเหตุ เงินยูโรอ่อนค่า’ ในรอบ 20 ปี เกิดจากอะไร?

ก่อนหน้านี้เศรษฐกิจโลกได้เผชิญกับวิกฤติต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็น การผันผวนของเหรียญคริปโตเคอเรนซี่ที่ส่งผลให้หลายเหรียญต้องดับสูญอย่างถาวร ปัจจัยด้านการลงทุนในตลาดหุ้น หรือสงครามรัสเซีย-ยูเครนซึ่งกำลังคุกรุ่น และหลังจากที่จำกัดการจัดหาพลังงานให้กับยุโรป อาจเกิดความเสี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยุโรปได้ จึงมีความเป็นไปได้หลายทางว่า ทั้งหมดนี้อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ค่าเงินยูโรร่วงหนักขนาดนี้ ซึ่งมีสองปัจจัยหลักที่คาดว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เงินยูโรอ่อนตัวลง ได้แก่

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ “เฟด”

สงครามรัสเซีย – ยูเครน

เฟดปรับอัตราดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อ ทำเงินยูโรอ่อนค่า

ในเดือนกรกฎาคม 2565 ธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ได้ยืนยันที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.5 หรือร้อยละ 0.75 เพื่อป้องกันเงินเฟ้อ ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งขึ้นกว่าค่าเงินอื่น ๆ และทำให้เงินยูโรอ่อนจนมีระดับใกล้เคียงกับดอลลาร์สหรัฐ แน่นอนที่สุดว่าการทำแบบนี้จะทำเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 สงครามรัสเซีย-ยูเครน วิกฤติพลังงานในยุโรป

อย่างที่ทราบกันดีว่า สงครามระหว่างรัสเซีย และยูเครน ยังคงดำเนินต่อไป นอกจากจะส่งผลต่อเศรษฐกิจทั่วโลกแล้ว ยังมีเรื่องของการที่รัสเซียอาจจำกัดการจัดหาพลัง ผ่านท่อส่งก๊าซเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดไปยังประเทศเยอรมนี ทำให้กระทบต่อเศรษฐกิจของยุโรปเป็นวงกว้าง ซึ่งหลายคนหวั่นว่ารัสเซียอาจปิดการส่งก๊าซถาวรในอนาคต

แม้ว่ารัสเซียอาจจำกัดการส่งพลังงานผ่านท่อก๊าซ จนส่งผลให้ฉุดค่าเงินยูโรจนอ่อนค่า แต่อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ยุโรปกังวลอย่างหนักนั่นก็คือ ราคาพลังงานที่สูงมากอยู่แล้ว เพราะราคาพลังงานในยุโรปนั้น มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าในสหรัฐหลายเท่าตัว หากการใช้พลังงานเหลือน้อยลง สิ่งที่จะตามมาก็คือราคาพลังงานที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วนั่นเอง

สาเหตุ เงินยูโรอ่อนค่า กระทบค่าเงินบาทด้วยหรือไม่?

เรียกว่านี่เป็นวิกฤติที่กระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทย ที่มีอัตราเงินเฟ้อที่สูงหนักขึ้น และอาจเพิ่มขึ้นถึง 8% ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าอย่างเห็นได้ชัด โดยในวันนี้ 14 กรกฎาคม 2565 1 ยูโร เท่ากับ 36.38 บาท ซึ่งเราก็ได้แต่หวังว่าหลังจากที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศมากขึ้น ก็อาจทำให้ค่าขนส่งสินค้าเริ่มปรับลดลงบ้างเล็กน้อย

ประกันรายได้เกษตรกร ข้าวเปลือก – รายงานความคืบหน้าการจ่ายเงินช่วยเหลือในโครงการประกันรายได้เกษตรกร ประกันรายคาข้าวสำหรับชาวนา ล่าสุด ด้านการจ่ายเงินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้เริ่มจ่าย เงินประกันรายได้ ชาวนา และ เกษตรกร ที่ทำการปลูกข้าว (หรือที่คนเรียกติดปากว่าประกันราคาข้าว) ตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 2563/2564 ภายในวันที่ 14 ธันวาคม 2563 ประมาณการจำนวนผู้ลงทะเบียนมีสิทธิ์ได้รับเงินงวดที่ 5 กว่า 3 แสนราย

นอกจากนี้ สัดส่วนของไทยยังอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่ม ASEAN และประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน เนื่องจากหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เกิดจากการกู้เพื่อเป็นรายจ่ายลงทุนในระบบงบประมาณ และการกู้เพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้านต่างๆ ซึ่งส่งผลให้ GDP ของประเทศเกิดการขยายตัวตามไปด้วย

นอกจากนี้ บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Agencies) ระดับสากล ได้แก่ S&P Moody’s และ Fitch ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) เนื่องจากประเทศไทยมีภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) ที่แข็งแกร่งเป็นผลจากการบริหารจัดการทางการคลังอย่างรอบคอบและรักษาวินัยทางการคลังอย่างเคร่งครัด

หลังจากนั้นกรณีหลักทรัพย์ค้ำประกันเต็มวงเงิน คิดอัตราดอกเบี้ย MOR/MLR+0.75% (ปัจจุบัน MOR ของธนาคารฯ = 5.995% และ MLR = 6.150%) และกรณีหลักทรัพย์ ค้ำประกันตั้งแต่ร้อยละ 30 คิดอัตราดอกเบี้ย MOR/MLR+1.25%

แต่หากกู้ในวงเงิน 20-100 ล้านบาท แล้วทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อ คิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2 ปีแรก = 4.00 ต่อปี หลังจากนั้นกรณีหลักทรัพย์ค้ำประกันเต็มวงเงิน คิดอัตราดอกเบี้ย MOR/MLR+0.75% และกรณีหลักทรัพย์ค้ำประกันตั้งแต่ร้อยละ 30 คิดอัตราดอกเบี้ย MOR/MLR+1.00%

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า